เทคนิคการพิมพ์ผ้ากีฬา
เทคนิคการพิมพ์ผ้ากีฬา
การพิมพ์ผ้ากีฬาสำหรับอุตสาหกรรมโรงพิมพ์นั้นจัดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากพอสมควร โดยงานพิมพ์ผ้ากีฬาส่วนใหญ่ที่พบนั้น จะเป็นงานพิมพ์ชื่อBrand Name ต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานพิมพ์กลางอก หรือจะเป็นพิมพ์เบอร์ต่าง ๆ ลงบนเสื้อกีฬา และที่ยากไปกว่านั้นก็คือการพิมพ์งานเทพื้นผ้า โดปัญหางานพิมพ์ผ้ากีฬาที่พบโดยส่วนใหญ่นั้น จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความร้อนที่ใช้ในงานพิมพ์ชนิดนี้ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะพบปัญหาผ้าหดตัวได้ง่าย หรือปัญหาการเคลื่อนที่ของสีย้อมเข้าหาสีพิมพ์ปิกเม้นท์ (Dye Migration) ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ต้องพิมพ์สียางขาวลงบนผ้ากีฬาสีแดง แล้วต้องผ่านกระบวนการอบหรืออัดด้วยความร้อน สีขาวที่ได้จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ๆ ในทันที ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าสีที่ย้อมบนผ้าโพลีเอสเตอร์หรือผ้าไนลอนนั้นเคลื่อนที่ไปหาสีขาวที่พิมพ์ทับลงไป ปัญหานี้อาจจะแก้ด้วยการนำสีจมซึ่งเป็นสีพิมพ์ปิกเม้นท์ประเภทหนึ่งไปพิมพ์ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าเราทราบเทคนิคการพิมพ์ผ้ากีฬา งานนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยาก เกินกว่าใคร ๆ ก็ทำได้
การพิมพ์สีพื้นบนผ้ากีฬา
การพิมพ์สีพื้นบนผ้ากีฬานั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระบบการพิมพ์อ้อม (Transfer Print) และการพิมพ์สีพื้นบนผ้ากีฬาเราจะใช้สีระเหิด (Sublimation) โดยการพิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษ แล้วนำมารีดลงบนผ้าอีกครั้งหนึ่ง สีชนิดนี้จะระเหิดเข้าไปอยู่ในเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ทำให้สีติดแน่น ทนต่อการซัก ไม่หลุดลอก
แนวทางการใช้สีระเหิด
1.การพิมพ์ด้วยมือ (Manual Screen Printing)
ขั้นตอนการพิมพ์ผ้ากีฬาด้วยมือนั้น ให้เตรียมบล็อกสกรีนที่มีลวดลายบนบล็อกสกรีนที่ทำกลับด้านกับงานพิมพ์ตรง นำสีสำเร็จรูปชนิดพร้อมพิมพ์ได้ทันทีที่มีจำหน่ายในร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับงานพิมพ์ พิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ แล้วนำไปอบด้วยความร้อนโดยที่ไม่ต้องโรยด้วยผงกาวทรานเฟอร์ หลังจากนั้นให้นำไปอัดด้วยความร้อน แล้วลอกกระดาษออก เพียงเท่านี้ สีก็จะถูกย้ายจากกระดาษไปอยู่บนผ้ากีฬา
2.พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์กระดาษ (Flexography Machine)
วิธีนี้จะสะดวกและเป็นการตัดขั้นตอนในการเตรียมบล็อกสกรีนออกไป คือ เปลี่ยนจากการพิมพ์ด้วยบล็อกสกรีน มาเป็นวิธีการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์กระดาษโดยใช้สีชนิดเดียวกันพิมพ์ ซึ่งกระบวนการหลังจากพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์เสร็จก็จะนำนำมาอัดด้วยเครื่องอัดความร้อนแล้วลอกกระดาษออกเช่นกัน
ตารางการทรานเฟอร์สีระเหิด
Triacetate 185 - 195 องศาเซลเซียล 20 - 30 วินาที
Diacetate 185 - 195 องศาเซลเซียล 20 - 30 วินาที
Nylon 185 -1 95 องศาเซลเซียล 25 - 35 วินาที
Nylon 6 190 - 200 องศาเซลเซียล 25 - 35 วินาที
Polyester 210 - 220 องศาเซลเซียล 35 - 45 วินาที
การพิมพ์กลางอกหรือพิมพ์เบอร์
การพิมพ์กลางอกหรือพิมพ์เบอร์ อาจจะพิมพ์ในตำแหน่งกลางอกหรือจะเป็นการพิมพ์เบอร์ที่ด้านหลังเสื้อก็ได้ สามารถนำมาพิมพ์ลงบนตำแหน่งใดก็ได้ตามที่ต้องการ การพิมพ์ชนิดนี้ใช้วิธีการพิมพ์ตรง (Direct Print) โดยการเตรียมสีปิกเม้นท์ที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเลือกใช้ สียาง สีนูน สีลอย หรือสีพลาสติซอล ก็ได้
แนวทางสำหรับการใช้สีพิมพ์ผ้าสูตรน้ำแบบไม่ใช้ความร้อน ใช้ Catalyst SK-573 แต่งร่วม 3%มากกว่า หรือ น้อยกว่า
สีขาว White Elastic Paste SK-3A3 97
Catalyst SK-573 3 มากกว่า หรือน้อยกว่า
100
ผสมสี Elastic Paste SK-1A1 สียางพิมพ์ผ้าเข้ม 97
Color Concentrate แม่สีน้ำ x
Catalyst SK-573 3 มากกว่า หรือน้อยกว่า
100
โดยทั่วไปนั้นเราจะพบว่า ผ้าเสื้อกีฬาจะมีการหดตัวเมื่อถูกความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 150 องศาเซลเซียส ที่เวลา 10 วินาที หรือมากกว่านั้น ดั้งนั้นควรใช้ความร้อนในอัตราที่ต่ำกว่าความสามารถของการรองรับความร้อนของผ้าที่พิมพ์ ในกรณีที่เกิดปัญหา Dye Migration จากการใช้ความร้อนเข้าร่วม ให้แก้ไขโดยการพิมพ์รองพื้นด้วยสีขาวก่อนแล้วใช้ความร้อนอบจนกระทั่งสีของผ้าเสื้อกีฬาซึมเข้าหาสีรองพื้นที่พิมพ์ไว้ หลังจากนั้นจึงค่อยทำการพิมพ์สีทับด้านหน้า (Overprint) ด้วยสีต่อไป ซึ่งจะสังเกตได้ว่า สีจากผ้ากีฬาดังกล่าวจะไม่สามารถซึมต่อไปในสีที่พิมพ์ทับลงไปทีหลัง แต่วิธีนี้อาจจะช่วยแก้ปัญหา Dye Migration ได้ในผ้าใยสังเคราะห์บางชนิดเท่านั้น ซึ่งบางครั้ง อาจจะพบว่าสีย้อมจะไม่แสดงผลโดยการซึมเข้าหากันในทันทีที่เสร็จกระบวนการพิมพ์ แต่อาจจะซึมเข้าหาสีพิมพ์หลังจากที่ทำเสร็จมาแล้วหลายวันก็ได้